ประเพณีกำฟ้าไทยพวน บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน

ความเป็นมาของงาน (พอสังเขป

งานประเพณีกาฟ้าเป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน บ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการบูชาหรือเคารพเทวดาฟ้าดิน เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีบูชาขอพรจากเทพยดา ผู้รักษาฟ้าแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องคือสัญญาฟ้าเปิดประตูนํ้าเพื่อให้ชาวนา ชาวไร่ มีนํ้าประกอบอาชีพเกษตรกรรม การพยากรณ์เสียงฟ้าร้องของลาวพวน มีดังนี้

เสียงฟ้าร้องดังมาจากทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พยากรณ์ว่าฝนจะดีมีนํ้าเพียงพอ พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ ประชาชนจะมั่งมีศรีสุข ถ้าฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ฝนจะมีน้อยเกิดความแห้งแล้งพืชผลได้รับความเสียหาย

ถ้าฟ้าร้องเสียงมาจากทิศตะวันออก ฝนจะตกปานกลาง พืชในที่ลุ่มได้ผลดี พืชในที่ดอนจะเสียหาย

ถ้าเสียงฟ้าร้องมาจากทิศตะวันตกจะเกิดความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพงจะรบพุ่งฆ่าฟันกัน

กำฟ้า  เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยพวนได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลกำฟ้าหมายถึง การนับถือ สักการะ บูชาฟ้า ไทยพวนมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงมีความเกรงกลัวต่อฟ้ามาก ไม่กล้าทำให้ผีฟ้าพิโรธ ถ้าผีฟ้าพิโรธ หมายถึง ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือไม่ฟ้าก็จะผ่าคนตาย ความแห้งแล้งจะมาเยือนเกษตรกร หรืออีกนัยหนึ่งชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รู้สึกสำนึกในบุญคุณของฟ้าที่ให้นํ้าฝน

 อันหมายถึง ความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์ หรือ พืชพรรณต่าง ๆ     จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น ประชาชนในตำบลหนองพยอม ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพวน และประกอบอาชีพทำนา และอาชีพเกษตรกรรมด้วย ชาวบ้านจึงได้จัดประเพณีกำฟ้าขึ้น กล่าวคือ ตอนเช้าวันขึ้น ๓ คํ่า เดือน ๓ ทุกครัวเรือนจะจัดอาหารคาวหวานไปถวายพระที่วัด มีการใส่บาตรพระด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ หลังจากถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์แล้ว มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ช่วงกลางคืนจะมี งานพาข้าวแลง มีดนตรี มีการประกวดธิดากำฟ้า

 รูปแบบการจัดกิจกรรม

จะกำหนดการจัดงานเป็น ๒ วัน คือวันกำต้อน (ขึ้น ๒ คํ่า เดือน ๓) เป็นวันเตรียมการก่อนวันงาน ๑ วัน ทุกคนจะหยุดทำงานกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนของตน ตั้งศาลพระภูมิบายศรีขอพรจากเทพยดา โดยจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ข้าวปุ้น (ขนมจีน) เผาข้าวหลาม ไว้ทำบุญในรุ่งขึ้นซึ่งเป็น วันกำฟ้า

วันกำฟ้า (ขึ้น ๓ คํ่า เดือน ๓) เป็นวันงาน ตอนเช้ามีพิธีทำบุญใส่บาตรสู่ขวัญข้าว ตอนกลางวันแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น นางกวัก นางด้ง นางสาก ถ่อเส้า ฯลฯ ตอนเย็นจะนำข้าวปลาอาหารมาร่วมรับประทานกัน ปัจจุบันทางราชการ ส่งเสริมให้เป็นงานประเพณีสำคัญ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของอำเภอ ระยะเวลาการจัดงานขึ้น ๒ คํ่า เดือน ๓ และขึ้น ๓ คํ่า เดือน ของทุกปี

ความสำคัญ

ชาวไทยพวนจะจัดงานประเพณีกำฟ้าขึ้นในขึ้น ๓ เดือน๓ คํ่า เพื่อทำการเคารพฟ้า หรือการเคารพเจ้าฟ้ามหากษัตริย์หรือเคารพเทวดาผู้เป็นใหญ่ ผู้ศักดิ์สิทธิ์บนฟากฟ้า และในวันงาน "กำฟ้า" นี้ชาวไทยพวนจะเป็นงานวันขึ้นปีใหม่ด้วย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า ผู้ใดฝ่าฝืนทำงานในวัน "กำฟ้า" จะถูกฟ้าฝ่า

พิธีกรรม

วันขึ้น ๒ คํ่า ชาวไทยพวนเรียกว่า "วันกำต้อน" ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านไทยพวน จะพากันหยุดงานตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อให้พวกหนุ่มสาวมาช่วยกันตำข้าวเพื่อทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ไว้เลี้ยงดูกัน และทำข้าวจี่ เตรียมไว้สำหรับทำบุญตักบาตรตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ในบางท้องถิ่นกจะทำข้าวหลามไว้สำหรับเลี้ยงดูแจกญาติพี่น้อง  และเอาไว้ทำบุตรตักบาตรในตอนเช้าด้วย สำหรับชาวไทยพวนบ้านป่าแดง  อำเภอตะพานหิน ในวันกำต้อน บุตรหลานทุกคนที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด หรือกรุงเทพฯ จะเดินทางกลับมาภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญและสนุกสนานกับญาติพี่น้องของตน ในวันนี้ชาวบ้านจะนำข้าวสารข้าวเหนียว น้ำตาล ไข่ ไปรวมกันที่วัดห้วยเกตุเกษม (ป่าแดงเหนือ) เพื่อเข้ามงคลในพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ทำการบวงสรวงเทพยดา ก่อนที่จะทำการเผาข้าวหลาม และชาวบ้านป่าแดงในแต่ละคุ้มบ้านจะแต่งกายด้วยชุดผ้าพื้นเมืองแบบสมัยโบราณ หาบอาหารคาวหวานมาเลี้ยงต้อนรับผู้ที่มาร่วมพิธีและรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า "งานพาข้าวแลง" จนถึงในเวลากลางคืน หนุ่มสาวก็พากันไปรวมตัวที่วัด ร่วมร้องรำทำเพลง เล่นกีฬาประเพณีพื้นเมือง เช่น

 เตะหมากเบี้ย ขี่ม้าหลังโกง ถ่อเส้า นางดัง นางกวักและต่อไก่กัน  อย่างสนุกสนาน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกันทั้งหมู่บ้าน ซึ่งตามประเพณีนี้ เรียกว่า " ไปงันข้าวจี่" ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่หรือคนที่มีครอบครัวแล้วที่อยู่ภายในครัวเรือน จะเอาไม้ไปเคาะเตาไฟแล้วกล่าวคำเป็นมงคลว่า "กำปลอก" กำดีเน้อ ไฮ่บ่หา นาบ่เอา ชกบ่ย้อง ร้องบ่ตำกำปลอดกำดี กำเหย้ากำเฮือน กำผู้ กำคน กำงัว กำควาย กำหมู หมา เป็ดไก่เน้อ" วันขึ้น ๓ คํ่า ซึ่งเป็นวันพิธีกำฟ้า ยังเชื่อกันอีกว่า เสียงฟ้าร้องจะเป็นสิ่งบอกเหตุการณ์ในอนาคตอีกด้วย เพราะฉะนั้นเขาจะคอยฟังเสียงร้องของฟ้าว่าจะดังมาจากทิศไหน เขาถือกันว่า "เสียงฟ้าร้องก็คือ ฟ้าเปิดประตูนํ้า" เพื่อให้ชาวบ้านมีนํ้าทำนาปีต่อไป และทำให้คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าควรจะทำนาช้าหรือเร็วอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับฤดูกาลที่จะมาถึงอันใกล้นี้ เกี่ยวกับเสียงฟ้าร้อง นี้มีผู้ปูมทำนายกันต่อ ๆ มา

"กำฟ้า" แยกออกเป็น ๒ ทาง คือ   . การทำนายเกี่ยวกับอาชีพและความเป็นอยู่ ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะดีทำนาได้ข้าวบริบูรณ์ จะมั่งมีศรีสุข ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้ง นํ้าท่าไม่บริบูรณ์ การทำนาจะเสียหาย ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ฝนจะตกปานกลาง นํ้าบริเวณที่ลุ่มดี นาที่ดอนจะเสียหาย ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า จะเกิดแห้งแล้งฝนตกไม่แน่นอน ข้าวจะยาก หมาก จะแพง

. การทำนายเกี่ยวกับอาชีพและเหตุการณ์ ฟ้าร้องทางทิศเหนือ ทำนายว่า จะอดข้าว ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า จะอดเกลือ ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า จะต้องเอาจา (จอบ) ทำหอก คือจะรบราฆ่าฟันกัน ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า จะต้องเอาหอกทำจา คือจะอยู่เย็นเป็นสุข ในวันกำฟ้านี้ชาวไทยพวนจะนำอาหารคาวหวาน พร้อมข้าวหลามไปทำบุญเลี้ยงพระ และให้พราหมณ์ ในหมู่บ้านทำพิธีสู่ขวัญจนเสร็จพิธี จากนั้นจะมีการละเล่นกีฬาพื้นเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนก่อนที่จะอำลาเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน

42650724769634545170963536104776176363163621n
42785746669624157005335685642557217750178582n
42648449169623982405353141663658990539151908n
42796472969624112872006767937718785820426055n
42661314469623981472019902616553044429985351n
42640549069624000138684706360689005078573454n
4276432756962850027156802917472717466007268n
42816999069628520938232626644277403734245569n
42768926369628512504900131662164461631501309n
42819066169628520104899375830608010242324694n

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

การท่องเที่ยวตำบลหนองพยอม