นกกระสาดำ (Black Stork) เป็นนกน้ำอพยพขนาดใหญ่ ที่หายากมากในประเทศไทย ในช่วงฤดูอพยพของทุกปี ในช่วงต้นฤดูหนาว ปลายเดือน ตุลาคม ไปจนถึง มีนาคม พบคร้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2558 บริเวณ เขาพนมกาว และหลังจากนั้น นกกระสาดำก็ได้อพยพ มาทุกๆปี จะเกาะพักอยู่บนยอดเสาไฟฟ้าแรงสูง มากสุดที่เคยพบ เกินกว่า 20 ตัว เช่นเดียวกับ เหยี่ยวนิ้วสั้น นกนักล่าที่หายากอีกชนิดหนึ่ง กินงูเป็นอาหาร มักจะพบ บนเสาไฟฟ้าแรงสูง แถบถนนบ้านป่าแดง ไปเขาพนมกาว แต่ละปีจะพบเพียงไม่กี่ตัวในประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีนกอินทรีขนาดใหญ่ คือนกอินทรีปีกลาย และนกอินทรีหัวไหล่ขาว ที่พบว่ามีการอพยพมาเป็นประจำทุกๆปี โดยจะพบในช่วงที่ชาวนาเกี่ยวข้าว และจะมีหนูนาเป็นที่หมายปองของนกอินทรีที่บินโฉบเป็นอาหาร รวมถึงเหยี่ยวอีกหลายชนิด ที่พบมากบริเวณทุ่งนา เช่น เหยี่ยวหูดำ เหยี่ยวทุ่งด่างดำขาว เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก เหยี่ยวเครสเตล
ขอบคุณข้อมูลและภาพ
เกรียง มีมะโน ประธานกลุ่มดูนกพิจิตร Phichit Birding